Monstera ไม้ใบสุดมินิมอล

มอนสเตอร่า เป็นไม้ใบใบชนิดหนึ่ง มีใบขนาดใหญ่พร้อมมีรอยฉีกขาดอันเป็นเอกลักษณ์และสวยงาม จนได้ชื่อว่าเป็นราชินีเเห่งใบไม้ มีต้นกำเนิดจากเขตร้อนชื้น ตามป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) และหมู่เกาะของทวีปอเมริกา จึงทำให้ต้นมอนสเตอร่าสามารถปลูกในประเทศไทยบ้านเราได้ อีกทั้งยังดูแลไม่ยาก จึงเริ่มเป็นที่นิยมของทั้งวัยรุ่นและวัยเก๋าหลายท่าน

มอนสเตอร่า
ภาพโดย zoosnow จาก Pixabay

Monstera หรือ มอนสเตอร่า เป็นไม้ใบใบชนิดหนึ่ง มีใบขนาดใหญ่พร้อมมีรอยฉีกขาดอันเป็นเอกลักษณ์และสวยงาม จนได้ชื่อว่าเป็นราชินีเเห่งใบไม้ มีต้นกำเนิดจากเขตร้อนชื้น ตามป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) และหมู่เกาะของทวีปอเมริกา จึงทำให้ต้นมอนสเตอร่าสามารถปลูกในประเทศไทยบ้านเราได้ อีกทั้งยังดูแลไม่ยาก จึงเริ่มเป็นที่นิยมของทั้งวัยรุ่นและวัยเก๋าหลายท่าน

Photo by Daria Shevtsova on Pexels.com

มอนสเตอร่ามีมากมายหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมในไทยจะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Monstera deliciosa (มอนสเตอร่าไจแอ้น) และ Monstera borsigiana (มอนสเตอร่าเลื้อย)

มอนสเตอร่าเป็นต้นไม้ฟอกอากาศ คนจึงเริ่มนิยมนำเอาไปปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ ยิ่งตอนนี้เจ้าฝุ่น PM 2.5 ก็เริ่มมีมากขึ้นทุกวัน ส่งผลให้เราหายใจเอาเจ้าฝุ่นจิ๋วตัวนี้เข้าไปแทบจะตลอดเวลา ดังนั้นมันคงจะดีหากเรามีตัวช่วยในการฟอกอากาศอยู่ภายในบ้านและห้องนอนของเรา  

เพื่อนๆ สามารถตรวจเช็คค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้

ทั่วประเทศไทย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง และภาคตะวันตก
ภาคตะวันออก
ภาคใต้

Photo by Huy Phan on Pexels.com

วิธีปลูกต้นมอนสเตอร่า

เพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยก่อนปลูกจะต้องเตรียมกาบมะพร้าวหรือขุยมะพร้าวเอาไว้ก่อน โดยนำไปแช่น้ำเอาไว้ราวๆ 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน จากนั้นนำกาบมะพร้าวหรือขุยมะพร้าวที่แช่แล้วลงไปในกระถาง หรือลงไปในหลุมดินที่เตรียมเอาไว้ จากนั้นหยอดเมล็ดลงไป กลบหน้าหนาประมาณ 1 นิ้วเป็นอันเสร็จพิธี โดยระหว่างนี้ต้องระวังไม่ให้กระถางนี้ หรือพื้นที่ที่ปลูกไว้โดนแสงแดดจัดโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้ต้นไม้ตายก่อนวัยอันควร

ปักชำลำต้น วิธีนี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากวิธีเพาะเมล็ดเลยสำหรับการเตรียมวัสดุปลูก โดยเมื่อได้ลำต้นพร้อมใบมานั้นเราจะต้องตัดไปออกก่อนที่จะนำไปปลูกก็เป็นที่เรียบร้อยไม่ยากอะไร แต่จะมีขั้นตอนที่ควรทำเพิ่มอีก 2 อย่างคือ การบากโคนต้นลึกประมาณ 1 นิ้ว แล้วแช่น้ำยาเร่งรากเอาไว้ 15 นาทีก่อนนำลงไปปลูก เพื่อเร่งให้รากงอกให้ไว โดยให้จมลงไปในวัสดุปลูกราวๆ 1-2 นิ้ว จากนั้นหาไม้มาปักเอาไว้ แล้วผูกลำต้นที่ปักชำใหม่กับไม้ เพื่อพยุงเอาไว้ระหว่างที่รากยังไม่แข็งแรงจะได้ไม่โอนเอนไปมา

ปักชำขอนหรือเหง้า วิธีนี้อาจจะไม่ได้คุ้นเคยกันมากนัก เพราะการจะได้ขอนมอนสเตอร่ามานั้น ส่วนมากจะเกิดจากใบและลำต้นเน่าเสียไปเกือบหมด แล้วเกิดความเสียดายตัวรากหรือขอนเดิม จึงเอามาปลูกใหม่ หรือเกิดจากการไปตัดขอนออกมาจากพื้นที่ตามธรรมชาติ โดยการปักชำขอนหรือเหง้าต้องเตรียมกาบมะพร้าวแช่น้ำเอาไว้ 48 ชั่วโมงเหมือนวิธีอื่นๆ จากนั้นจึงวางขอนลงไปบนกาบมะพร้าว แล้วจึงกลบด้วยกาบมะพร้าวอีกชั้น แต่ห้ามกลบจนมิด ต้องเว้นพื้นที่ให้หายใจบ้าง โดยกลบให้พอพยุงไม่ให้ขอนขยับไปมาก็เท่านั้น

สำหรับใครที่ลังเลว่าจะใช้ขุยมะพร้าวหรือกาบมะพร้าวดีนั้น ทางไม้ในสวนขอแนะนำว่า หากเป็นไปได้ให้ใช้ขุยมะพร้าวก่อนในช่วงแรก หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็บกาบมะพร้าวเมื่อผ่านไป 3-4 เดือน เนื่องจากในช่วงที่รากออกใหม่จะได้เดินได้ดีกว่าเมื่อใช้ขุยมะพร้าว แต่หากว่าใครไม่สะดวกใช้ขุยมะพร้าว ก็สามารถใช้กาบมะพร้าวแทนได้

การปลูกมอนสเตอร่าไม่ยากใช่ไหมครับ หลังจากปลูกไปแล้วสิ่งที่ต้องระวังคือไม่ควรจะโดดแดดในช่วง 3 เดือนแรก และควรจะรดน้ำทุกๆ 1-2 วัน โดยต้องวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพียงเท่านี้มอนสเตอร่าที่ปลูกใหม่ก็จะออกมางอกงามให้เราได้เชยชม

หลังจากที่มอนสเตอร่าของเราแข็งแรงดีแล้ว เพิ่งจะซื้อมาใหม่ เราก็คงไม่อยากจะให้น้องจากเราก่อนวัยอันควรใช่ไหมครับ ดังนั้นเราจึงต้องทำความรู้จักกับน้องเสียก่อน โดยต้องจำไว้เสมอเลยว่า มอนสเตอร่าไม่ชอบที่อับ ไม่ชอบที่มืด เพราะจะทำให้ไม่โต และมอนสเตอร่าไม่ชอบแดดจัดเพราะจะทำให้ใบไหม้ และไม่ชอบพื้นที่ที่ชื้นแฉะจนเกินไป ดังนั้นเราควรหาจุดวางหรือปลูกมอนสเตอร่าให้เหมาะสม โดยให้โดนแรงแดดรำไร หรือเป็นแดดที่กระทบกับผนังบ้านเรา หรือผ่านหลังคากรองแสงก็ได้ และพื้นที่นั้นจะต้องมีลมผ่าน โดยรดน้ำให้ชุ่มสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเป็นอันเพียงพอ

มอนสเตอร่าเป็นไม้ที่เลี้ยงดูง่าย แต่ก็มีอาการแปลกๆ ให้ดูได้ 2 แบบครับ แบบแรกคือเกิดจุดสีเหลืองแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีดำ ถ้าเป็นแบบนี้คือชื้นเกินไป ให้เราลดน้ำที่ให้น้องลงมาหน่อย หรือเปลี่ยนวัสดุปลูกไปเลย อีกอาการคือเริ่มจากใบมีจุดสีเหลืองแล้วเป็นสีน้ำตาลอาการคล้ายน้ำร้อนลวก แบบนี้แปลว่าน้องโดดแดดแรงเกินไปให้ย้ายที่ครับ

มอนสเตอร่า
ภาพโดย justynafaliszek จาก Pixabay

จากที่เล่าไปทั้งหมดนั้นก็เป็นเรื่องเพียงเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับมอนสเตอร่า ราชินีใบไม้ ที่อยากจะให้ทุกคนได้รู้จัก และเรียนรู้ไปด้วยกัน สำหรับเพื่อนๆ ท่านไหนมีคำถาม หรืออยากจะแชร์ความรู้สามารถกด Comment มาได้เลยนะครับ หรือจะเข้าไปทักทายกันที่ https://www.facebook.com/mainaisuan ก็ได้เช่นกันครับ

Photo by Daria Shevtsova on Pexels.com

รับกล้าไม้ฟรี กว่า 100 ล้านต้น

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ไม้ในสวนขอแนะนำกิจกรรมดีๆ จากกรมป่าไม้กันครับ
โครงการที่ว่านี้เป็นโครงการ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนคนทั่วไปสามารถจองกล้าไม้เพื่อนำไปเพาะปลูกได้ โดยตั้งเป้าหมายเบื้องต้นเอาไว้ที่ 100 ล้านต้น ภายในปี 2565

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ไม้ในสวนขอแนะนำกิจกรรมดีๆ จากกรมป่าไม้กันครับ

โครงการที่ว่านี้เป็นโครงการ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนคนทั่วไปสามารถจองกล้าไม้เพื่อนำไปเพาะปลูกได้ โดยตั้งเป้าหมายเบื้องต้นเอาไว้ที่ 100 ล้านต้น ภายในปี 2565

ปัจจุบันโครงการยังเปิดให้ลงทะเบียน ได้ที่เว็บไซต์ของ กรมป่าไม้

กรมป่าไม้

https://fp.forest.go.th/

สำหรับขั้นตอนการลงทะเบียนนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด เมื่อเข้าไปเว็บไซต์แล้ว ให้กดลงทะเบียน กรอกข้อมูลอีกนิดหน่อย แล้วรออนุมัติโดยจะมีข้อความแจ้งผ่านทางอีเมล หลังจากผ่านการอนุมัติแล้ว ให้ล็อกอินเข้าสู่ระบบอีกครั้ง จากนั้นเลือกขอรับกล้าไม้ จากนั้นรอเจ้าหน้าที่แจ้งข้อมูลเพิ่มเติม แล้วพิมพ์เอกสารไปรับกล้าไม้ ไม่ยากใช่ไหมครับ

โดยทุกท่านสามารถเข้าไปเช็คหน่วยงานเพาะชำกล้าไม้ได้ตามนี้ครับ

แคคตัสคืออะไร เลี้ยงง่ายจริงไหม

แคคตัส (Cactus) ไม้มีหนามที่ทนต่อสภาพอากาศแบบแห้งแล้งได้ โดยการกักเก็บน้ำไว้ในลำต้น โดยแคคตัสจะเป็นส่วนหนึ่งของพืชอวบน้ำ แคคตัส จะออกดอกที่มีกลีบแยกกันชัดเจน และมีตุ่มตามลำต้น โดยตุ่มนั้นจะเรียกรวมๆ ว่าตุ่มหนาม

ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาไม้ในสวนพบว่ามีเพื่อนๆ เริ่มเลี้ยงแคคตัส หรือกระบองเพชรกันมากขึ้น หรือบางคนก็เคยเลี้ยงกันมานานแล้ว วันนี้จึงอยากเอาเรื่องของแคคตัสมาให้อ่านกัน เพื่อเป็นแนวทาง และข้อระวังในการเลี้ยง ในการดูแลต้นไม้ที่เรารัก

Cactus Echinocactus
ภาพโดย István Mihály จาก Pixabay

ก่อนอื่นต้องบอกให้เพื่อนๆ ทราบกันก่อนว่า แคคตัส (Cactus) ไม่เหมือนกับ ไม้อวบน้ำ (Succulents) โดย Cactus คือไม้มีหนามที่ทนต่อสภาพอากาศแบบแห้งแล้งได้ โดยการกักเก็บน้ำไว้ในลำต้น โดยแคคตัสจะเป็นส่วนหนึ่งของพืชอวบน้ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม้อวบน้ำทุกต้นเป็นแคคตัสนะครับ โดยไม้อวบน้ำมีวิธีการในการทำให้ตัวเองทนต่ออากาศแล้งได้ไม่ต่างจากแคคตัส แต่จุดสังเกตจะต้องดูที่หนามและดอก

Photo by Scott Webb on Pexels.com

แคคตัส จะออกดอกที่มีกลีบแยกกันชัดเจน และมีตุ่มตามลำต้น โดยตุ่มนั้นจะเรียกรวมๆ ว่าตุ่มหนามเช่น ยิมโน (Gymnocalycium) ถังเงิน-ถังทอง (Echinocactus) ดาวล้อมเดือน (Echinopsis) โดยบางสายพันธุ์มีการวิวัฒนาการจนตุ่มหนามที่ว่านั้นไม่มีหนามแล้ว หรือมีหนามที่สั้นมากจนเราอาจลืมสังเกตไป เช่นพวกแอสโตร (Astrophytum) หรือหมวกสังฆราช ที่เราจะเห็นว่าบางต้นยังมีหนามอยู่ เช่น แอสโตร ออนาตัม (Astrophytum Ornatum) แต่บางต้นไม้มีหนามแล้ว อย่างหมวกสังฆราชขาว (Astrophytum Myriostigma)

Photo by Ylanite Koppens on Pexels.com

ไม้อวบน้ำ ส่วนมากจะมีกลีบดอกที่ไม่ชัดเจน แต่ก็มีบ้างที่มีกลีบดอกชัด ดังนั้นจึงมีอีกวิธีแยกคือ ไม้อวบน้ำจะไม่มีตุ่มหนาม คือบางต้นอาจจะมีหนามเช่น ยูโฟเบีย เก๋ง อโลเวล่า แต่ทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้นจะไม่มีตุ่มหนาม และไม้อวบน้ำบางชนิดจะมีใบ เช่น มะพร้าวทะเลทราย (Dorstenia) ชวนชม (Adenium) กุหลาบหิน

ไม้อวบน้ำ (Succulents)
ภาพโดย Annie Spratt จาก Pixabay

พอจะนึกภาพกันออกไหมครับว่า แคคตัส และ ไม้อวบน้ำ ต่างกันอย่างไร ที่กล่าวถึงไปข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างแคคตัสและไม้อวบน้ำเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้น โดยมีแคคตัสเป็นหลายสิบสกุล และแต่ละสกุลก็มีอีกเป็นสิบสิบสายพันธุ์ย่อยๆ แต่จะนิยมเลี้ยงกันประมาณ 40 สายพันธุ์เท่านั้น ที่พอจะหาซื้อมาเลี้ยงได้ โดยจะมาเล่าให้ฟังใหม่ในภายหลัง

แคคตัสและไม้อวบน้ำเลี้ยงไม่ยาก แต่มีโอกาสที่จะเน่าหรือตายได้

โดยพื้นฐานแล้วหลักการปลูกต้นไม้ทุกชนิดบนต้นนี้ขึ้นอยู่กับหลักการเดียว คือ หลักการของความเหมาะสม แล้วอะไรคือความเหมาะสมสำหรับแคคตัสและไม้อวบน้ำล่ะ ก็ต้องเรียนกับตามตรงว่าแต่ละชนิดและสายพันธุ์จะมีความเหมาะสมในเรื่องของดิน น้ำ อุณหภูมิ แดด ปุ๋ย ที่แตกต่างกัน โดยในวันนี้จะเล่าถึงพื้นฐานสำหรับแคคตัสและไม้อวบน้ำส่วนใหญ่เป็นหลักนะครับ

ดิน

เริ่มจากส่วนแรกเลยคือสิ่งที่เราจะต้องปลูกแคคตัสลงไป นั่นคือดินปลูก ซึ่งหมายถึงทั้งการปลูกในกระถาง และการปลูกลงบนพื้นดิน อย่างที่ทุกคนน่าจะทราบกันดีแล้วว่าดินแคคตัสและไม้อวบน้ำต้องโปร่ง แต่ทราบกันไหมครับว่าทำไมดินถึงต้องโปร่ง สาเหตุที่ดินแคคตัสและไม้อวบน้ำต้องโปร่ง เพราะว่ารากของเขามีความบอบบางมาก มากขนาดที่หากเรากดดินแน่นเกินไปรากก็สามารถขาดได้เลยทีเดียว

ที่ต้องบอกแบบนี้เพราะว่าในช่วงที่ยังเป็นมือใหม่ ผมเคยเปลี่ยนกระถางเอง และใช้ดินที่โปร่งมากพอสมควร โดยใส่ดินเท่าไรก็ไม่สามารถประคองต้นไม้ได้อยู่ดี จนกดแน่นมาก น้องแคคตัสก็ยังโอนเอนไปมา จนสุดท้ายย้อมแพ้เลิกกด ผ่านไปสัก 1 เดือน พบว่าน้องมีอาการเฉาๆ จึงหาข้อมูลโดยหลายแหล่งข้อมูลบอกว่าเพราะแดดบ้าง เพราะน้ำเยอะบ้าง เพราะรากเน่าบ้าง ก็เลยได้รื้อออกมาดู ก็พบว่ารากไม่ได้เน่าแต่อย่างใด แต่รากหลุดไปจากต้นไปเกือบหมดเลย เหลือตอรากเล็กๆ เอาไว้ให้พอดำเนินชีวิต ก็เลยได้ไปหาพวกน้ำยาเร่งรากมาใช้ และรอบนี้ไม่ลืมที่จะหาหินโรยหน้ามาใช้เพื่อประคองต้นไม้ให้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องกดดินให้แน่นอีกต่อไป

แจกสูตรดินแคคตัส

ดินร่วน หรือดินใบก้ามปู หรือดินขุยมะพร้าว 3-5 ส่วน
ทราย1-2 ส่วน
หินภูเขาไฟ1-2 ส่วน
กาบมะพร้าวสับ หรือขุยมะพร้าว2-3 ส่วน
เพอร์ไรท์1 ส่วน
เวอร์มิคูไลท์1 ส่วน
ปุ๋ยสูตรละลายช้า0.5 ส่วน
สตาเคิลจี หรือยาป้องกันเพลี้ย3-5 กรัมต่อดิน 1 กิโลกรัม
สูตรดินแคคตัส โดยไม้ในสวน

ดินและทราย จะร่อนหรือไม่ร่อนก็ได้ แต่หากมีอุปกรณ์แนะนำว่าร่อนจะดีกว่า ในส่วนของเพอร์ไรท์ และเวอร์มิคูไลท์ จะช่วยให้ดินโปร่งมากขึ้น กักเก็บความชื้นไว้ในดินได้นานขึ้น และช่วยปรับค่า pH แต่หากเพื่อนๆ ไม่สามารถหาได้ หรือไม่สะดวกที่จะใส่ สามารถลดส่วนนี้ออกได้เลย แล้วไปเพิ่มหินภูเขาไฟ หรือกาบมะพร้าวสับ หรือขุยมะพร้าวมาอีก 1 – 2 ส่วนก็ได้ และการเปลี่ยนกระถางใหม่ทุกครั้งแนะนำว่าให้รดยากำจัดเชื้อรา เพื่อป้องกันเชื้อราไม่ให้มาทำร้ายต้นไม้ที่เรารักนะครับ

หินโรยหน้า สำหรับแคคตัสจะมีหลายรูปแบบ โดยแนะนำว่าควรเลือกให้เหมาะกับขนาดกระถาง ไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะประคองไม่ดี และไม่ใหญ่จนเกินไปเพราะจะใส่ลงในกระถางไม่พอ บางคนก็นิยมใช้เป็นพวกดินญี่ปุ่น เพราะจะได้สังเกตความชื้นของกระถางไปด้วย โดยส่วนตัวเคยใช้พวกดินเผามวลเบา (Popper) ซึ่งก็สวยดี แต่มีปัญหาเวลารดน้ำ ด้วยความที่มันเบาเกินไป เวลารดน้ำมันชอบกระเด็น หรือลอยขึ้นมา จึงไม่ค่อยน่าใช้ แต่ก็มีข้อดีตรงที่เม็ดกลมสวย ไม่บาดต้นไม้ให้มีแผลเหมือนหินโรยหน้าทั่วไปที่มีมุมแหลม และมีราคาถูกกว่าดินญี่ปุ่น ดังนั้นจึงควรเลือกให้เหมาะสมตามการใช้งาน แต่หากไม่มีปัญหาทางการเงินอะไร แนะนำโดยความคิดเห็นส่วนตัวว่าใช้ดินญี่ปุ่นจะดีที่สุด

น้ำ

มาถึงขั้นตอนที่ต้องทำเป็นประจำ นั่นก็คือ การรดน้ำ ในช่วงที่ลองปลูกใหม่ๆ ก็รู้มาว่าต้องรดน้ำทุกๆ 3 วัน หรือ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในช่วงที่อากาศร้อน และทุกๆ 7 วันในช่วงที่อากาศไม่ร้อน แต่จากการเลี้ยงมาสักระยะนั้น พบว่าวิธีที่ดีที่สุด คือรดเมื่อดินแห้ง เพราะว่าแต่ละคนตั้งในสถานที่ที่แตกต่างกัน บางคนวางไว้ข้างบ้านในมุมที่ได้แสงไม่เพียงพอ ก็อาจจะรดน้ำทุกๆ 7 วันได้ แต่บางคนเอาวางไว้ในที่โดนแดดทั้งวัน อาจจะรดน้ำบ่อยหน่อย ทุกๆ 3-4 วัน

โดยวิธีการรดน้ำที่ลองทำแล้วรู้สึกว่าดีกับน้อง และดีต่อใจเรานั้น คือการรดจนน้ำล้นกระถาง และวิธีจุ่มกระถางลงไปในน้ำ โดยวิธีแรก รดน้ำจนล้นกระถาง จะรดน้ำจนล้นกระถางรอบแรกก่อน แล้วกลับมาซ้ำอีกรอบ เพื่อให้มั่นใจว่าน้องจะได้รับน้ำเพียงพอและเต็มที่ แต่ถ้าเป็นพวกแมมก็ไม่ต้องรดจนชุ่มมากนักเพราะจะกินน้ำน้อยกว่าชนิดอื่นๆ ส่วนวิธีจุ่มลงกระถางลงไปในน้ำก็ เอากระถางต้นไม้จุ่มลงในในกระบะ หรือกะละมังที่มีน้ำอยู่ โดยมีความสูงประมาณครึ่งนึงของกระถางต้นไม้ แล้วพักทิ้งไว้ 5-10 นาที หรือจะนานกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 30 นาที โดยส่วนตัวจะรดน้ำในช่วงกลางคืน ประมาณ 1 – 2 ทุ่ม เพราะเคยรดตอนเช้าแล้ว พบว่าน้องมีอาการเฉาๆ เหมือนจะสุกเพราะโดดแดดจัดในช่วงกลางวัน

แดด

แคคตัสและไม้อวบน้ำเป็นไม้ชอบแสงแดด และสามารถทนแดดจัดได้ แต่ไม่ควรโดนแสงแดดตรงๆ แรงๆ เพราะจะทำให้ผิวไหม้ ผิวกร้านแดด ผิวแห้งสาก ไม่สวยงาม เหมือนไม้ที่อยู่ในโรงเรือน และได้รับน้ำอย่างเต็มที่ ทั้งนี้แคคตัสเป็นไม้ที่เก็บน้ำไว้ในลำต้น หากวางแคคตัสไว้กลางแดดจัดๆ จะทำให้น้ำในลำต้นร้อนจนเป็นอัตรายแก่น้องได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ หรือมีโรงเรือนควรพรางแสงให้น้อง โดยแสลน หรือบางคนจะใช้พวกหลังคาพลาสติกกันยูวี ที่มีคุณสมบัติลดแสงที่ส่องผ่านก็ได้ แต่หากใครไม่มีโรงเรือน ปลูกแบบเอาไว้ข้างบ้าน ใต้ร่มไม้ ระเบียง ต่างๆ แนะนำว่าควรให้น้องได้โดดแดดในช่วงเช้าๆ – สายๆ ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันลำต้นยืด ลำต้นผิดทรง และป้องกันเชื้อราที่จะเกิดขึ้นในดินหากดินชื้นเป็นเวลานาน

ทั้งนี้บางคนเริ่มมีโรงเรือน หากมีต้นไม้ไม่มากมักจะมีโรงเรือนเล็กๆ โดยบางครั้งแคคตัสอยู่ใกล้หลังคาที่รับแสงมาก ทำให้บริเวณนั้นมีความร้อนสะสมสูง ก็จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพน้องได้ แนะนำว่าหากมีโรงเรือนที่เล็กมาก ควรให้หลังคาสูงกว่าแคคตัสสัก 50 เซนติเมตร หรือจะหาที่วัดอุณหภูมิมาทดลองใช้ก็ได้ โดยอุณหภูมิในจุดที่ตั้งแคคตัสไม่ควรเกิน 45 oC

Photo by Pixabay on Pexels.com

สรุปแล้วแคคตัสเลี้ยงง่ายไหมก็ต้องดูว่าเราเข้าใจในความเหมาะสมนั้นดีแค่ไหน และถึงแม้เราจะเข้าใจทุกเรื่องเกี่ยวกับแคคตัสดีแล้ว บางครั้งเราอาจทำแคคตัสตาย หรือเน่าได้เหมือนกัน หากแก้ไขปัญหาไม่ทัน ดังนั้นถ้าจะให้ไม้ในสวนบอกว่าแคคตัสนั้นเลี้ยงยากหรือง่าย ต้องขอบอกว่า เลี้ยงไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย เพราะถ้าไม่เอาใจใส่ก็ตายได้เช่นกัน เราจึงต้องหมั่นสังเกต และเอาใจใส่เขา หากมีอาการที่ไม่ปกติลองหาข้อมูลดูว่าเคยมีใครพบปัญหาเดียวกันไหม หรือถ้าหาไม่เจอลองถ่ายรูปหรือยกกลับไปที่ร้านดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง เพราะไม่มีใครอยากเลี้ยงแล้วปล่อยให้น้องตายหรอก

แล้วเพื่อนๆ เลี้ยงสายพันธุ์ไหนกับบ้านครับ คิดว่าแคคตัสเลี้ยงยากหรือเลี้ยงง่าย แล้วมีเทคนิคหรือวิธีอะไร ลองแชร์ให้ไม้ในสวนได้และผู้อ่านท่านอื่นได้อ่านกัน

หากเพื่อนๆ ชอบบทความนี้อยากลืมแชร์บทความนี้ให้เพื่อนของคุณ หรือคนที่คุณรักได้อ่านกัน และฝากกดไลค์ติดตาม เฟสบุค ไม้ในสวน กันด้วยนะครับ

Facebook : ไม้ในสวน

Photo by Min An on Pexels.com
Photo by Lisa Fotios on Pexels.com

ลิ้นมังกร

ไม้ล้มลึกชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นใบเรียวแหลม จึงมีชื่อภาษาไทยอีกชื่อว่า “หอกพระอินทร์”

ลิ้นมังกร (Mother-in Law’s Tonque, Snake Plant) เป็นไม้ล้มลึกชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นใบเรียวแหลม จึงมีชื่อภาษาไทยอีกชื่อว่า “หอกพระอินทร์”

ลิ้นมังกรเป็นหนึ่งต้นไม้ฟอกอากาศ ที่หลายบ้านมักเลือกมาประดับตกแต่งภายในบ้าน เพื่อต้องการเพิ่มความสดชื่นแล้วดูสบายตา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยให้บ้านของคุณปลอดสารพิษอีกด้วย

ลิ้นมังกรเป็นไม้ที่มีความแปลกไม่เหมือนไม้ชนิดอื่นที่ จะปล่อยออกซิเจน (Oxygen) ในเวลากลางคืน และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ในเวลากลางวัน ดังนั้นลิ้นมังกรจึงสามารถปลูกในบ้าน ในห้องน้ำได้ โดยไม่มีอันตรายต่อผู้พักอาศัยเลย

ลิ้นมังกร (Mother-in Law’s Tonque)

ลิ้นมังกร ไม่ชอบน้ำแฉะมากดังนั้นดินควรจะโปร่งโล่ง และระบายน้ำได้ดี หากดินทึบน้ำจนเกินไปอาจเกิดอาการรากเน่าและตายได้

ลิ้นมังกร เป็นไม้ที่ชอบความชื้น ดังนั้นควรรดน้ำทุกวัน แต่หากไม่มีเวลารดน้ำก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เนื่องจากลิ้นมังกรเป็นไม้ชอบน้ำ ชอบความชื้น (ไม่ชอบน้ำแฉะน้ำขัง) แต่ทนแล้งได้พอสมควร แต่ก็ไม่ควรจะปล่อยให้ดินแห้งเป็นเวลานาน ควรรดน้ำให้ดินพอชุ่มชื้น เนื่องจากหากลิ้นมังกรได้รับน้ำที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ใบไม่เต่งตึง และไม่สวยงาม

ลิ้นมังกรไม่ชอบแดดจัดมาก ควรให้แสงเพียงครึ่งวัน หรือ 50% แต่หากจะเลี้ยงในที่ๆ โดดแดดตลอดวัน และไม่ต้องการจะพรางแสงก็ยังทำได้อยู่ แต่ใบของลิ้นมังกรอาจจะไม่สวย และมีผิวที่เรียบมากนัก

ลิ้นมังกรเป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ง่าย จะแตกหน่อเองตามธรรมชาติ หากลิ้นมังกรแยกหน่อออกมาจนล้นกระถางแล้ว ก็ควรจะเปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้นอีกสักหน่อย หรือจะแยกหน่อเพื่อนำไปปลูกที่อื่นก็ได้


ไทรใบสัก

ไทรใบสัก (fiddle fig) ใบใหญ่ หยักพริ้ว ลำต้นสูง ชอบแสงแดด รำไรก็ได้ และไม่ต้องการน้ำชุ่มเกินไป ที่สำคัญสามารถดูดสารพิษและฟอกอากาศได้ สามารถเลี้ยงในห้องนั่งเล่น ริมระเบียง ห้องนอน ห้องทำงาน หรือบริเวณที่แสงแดดส่องถึงได้

ไทรใบสัก (Fiddle Fig) ใบใหญ่ หยักพริ้ว ลำต้นสูง เป็นพืชตระกูลไทร (Ficus) ชอบแสงแดด รำไรก็ได้ และไม่ต้องการน้ำชุ่มเกินไป ที่สำคัญสามารถดูดสารพิษและฟอกอากาศได้ สามารถเลี้ยงในห้องนั่งเล่น ริมระเบียง ห้องนอน ห้องทำงาน หรือบริเวณที่แสงแดดส่องถึงได้

ไทรใบสัก
ไทรใบสักในกระถาง

เนื่องจากไทรใบสักเป็นพืชเขตร้อน จึงเหมาะกับการปลูกในบ้านเราที่มีอากาศร้อนชื้น ชอบแดดรำไร ไม่ควรวางไว้ให้โดดแดดจัดเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจเกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบได้ (ใบไหม้)

ไทรใบสักต้องการแสงแดดอ่อนๆ วันละ 4-5 ชั่วโมงเพื่อให้เจริญเติบโตได้ดี หากได้รับแสงไม่พอจะมีอาการใบร่วงได้ ทั้งนี้ควรมีการหมุนต้นไทรใบสักเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากต้นไทรใบสักจะมีการโน้มลำต้นเข้าหาแสงในกรณีที่มีแสงเข้าทางเดียว ทั้งนี้ไทรใบสักสามารถอยู่ภายในห้อง หรือภายในบ้านได้ โดยพื้นที่ที่เหมาะกับการจัดวาง แนะนำให้เป็นห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ สว่างในที่นี้หมายถึงเราสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ อ่านหนังสือได้ในช่วงเวลากลางวัน โดยไม่ต้องเปิดไฟ

ไทรใบสัก

ไทรใบสักเป็นไม้ที่ชอบน้ำอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ควรจะรดน้ำให้แฉะจนเกินไป เนื่องจากอาจเกิดเชื้อรา และโรครากเน่าได้

การรดน้ำไทรใบสัก ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จัดวาง และแสงที่ได้รับ หากวางไว้ในที่ที่โดนแดดตลอดวัน และมีอากาศค่อนข้างร้อน อาจรดน้ำทุกๆ 2 วันก็ได้ แต่ถ้าหากโดนแสงวันละ 4 – 6 ชั่วโมงอาจรดน้ำทุกๆ 3 – 4 วัน โดยรดน้ำจนกว่าน้ำจะไหลออกจากก้นกระถาง แต่ไม่ควรให้มีน้ำขังในถาดรอง หลังจากรถน้ำเสร็จ พักให้น้ำไหลออกจากกระถางสัก 5-10 นาที แล้วใช้ผ้าซับน้ำออกจากถาดรอง

การรดน้ำไทรใบสัก แนะนำให้รดเมื่อดินแห้งจะดีที่สุด โดยสังเกตุจากความชื้นบริเวณผิวดิน หรือวัสดุปลูกอื่นๆ โดยการลองใช้นิ้วสัมผัสบริเวณหน้าดิน หรือจิ้มนิ้วลงไปในดินปลูกประมาณ 1 ข้อนิ้ว (2 เซนติเมตร) หากแห้งหรือไม่มีดินชื้น ก็ถือว่าเป็นเวลาที่ดีในการรดน้ำ

ต่อมาสำหรับดินของไทรใบสัก สามารถใช้ดินปลูกต้นไม้ทั่วไปได้เลย แต่อาจต้องผสมกาบมะพร้าวเพิ่มเข้าไป เพื่อเพิ่มความโปร่งของดินให้มากขึ้น ส่วนปุ๋ยก็เลือกใส่ได้ทั้งพวกปุ๋ยละลายช้า มูลไส้เดือน ตามแต่ความสะดวกได้เลย

ต้นไทรใบสัก
ไทรใบสักในบ้าน
ไทรใบสักในร่ม

ไทรใบสักจะเติบโตช้าไวขึ้นอยู่กับขนาดกระถางที่เราใส่ไว้ หากเราใส่ในกระถางขนาดไม่ใหญ่มาก ราวๆ 10-15 นิ้ว ไทรใบสักอาจโตได้ประมาณ 1-2 เมตร แต่หากเราปลูกลงบนดินเลย ไทรใบสักอาจสูงได้ถึง 10 เมตรเลยทีเดียว (สูงกว่าบ้าน 2 ชั้น)

เนื่องจากไทรใบสักเป็นไม้ฟอกอากาศ ซึ่งอาจมีฝุ่นติดอยู่ตามใบได้ จึงควรทำความสะอาดคราบฝุ่นละอองออกไป เพื่อให้ใบสามารถสังเคราะห์แสง และฟอกอากาศได้ดีขึ้น เมื่อพบว่าใบของไทรใบสักมีฝุ่นละอองเกาะ ควรใช้ผ้านุ่มชุบน้ำเช็ดด้านบนของใบ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้เช็ดด้วยมือเปล่าๆ เพราะอาจจะทำให้ใบช้ำหรือแตกได้

สุดท้ายการขยายพันธุ์ของไทรใบสัก เราสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ ตอนกิ่งเหมือนไม้ชนิดอื่นๆ แต่ต้นจะออกมาสวยและดีได้ด้วยการเพาะเมล็ด เนื่องจากมีความแข็งแรงมากกว่า รากเดินดีกว่า ใบถี่กว่า แต่ก็มีราคาที่สูงกว่าเช่นกัน

ต้นไทรใบสักเล็ก





มะพร้าวทะเลทราย

Dorstenia หรือ มะพร้าวทะเลทราย มีลักษณะลำต้นรูปร่างคล้ายต้นมะพร้าว เลี้ยงง่ายตายยาก น่าสะสม

Dorstenia หรือ มะพร้าวทะเลทราย มีลักษณะลำต้นรูปร่างคล้ายต้นมะพร้าว มีลักษณะลำต้นและใบแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละสายพันธุ์ เช่น D. foetida, D. lavrani, D. horwoodii, D. gigas

การปลูกเลี้ยงมะพร้าวทะเลทรายนั้น สามารถเลี้ยงได้ทั้งในที่โดนแสงมาก และโดนแสงน้อย โดยสภาพของลำต้นและใบจะแปรเปลี่ยนไปตามแสงแดดที่โดน หากโดนแสงมากใบจะมีขนาดกระทัดรัดและมีสีเข้มกว่าไม้ที่โดนแดดน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล บางคนชอบใบขนาดเล็กและมีสีเข้มก็จะเลี้ยงไว้ให้โดนแดดจัดตลอดทั้งวัน บางคนชอบใบขนาดใหญ่และมีสีใบอ่อนก็จะเลี้ยงไว้โดนแสงแดดเพียงรำไร แต่ไม่แนะนำให้เลี้ยงไว้ในร่ม หรือไม่โดนแสงแดดเลย เนื่องจากรากอาจจะเน่าและตายด้วยความชื้นสะสมได้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ต้องการให้ใบสีเข้มและเล็กหรืออ่อนและใหญ่ แนะนำว่าควรให้โดนแดดโดยตรง 4 – 6 ชั่วโมง หรือจะโดนแดดตลอดแล้วใช้สแลนพรางแสง 50 – 80 % ก็จะได้มะพร้าวทะเลทรายที่มีขนาดใบที่ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป

Dorstenia มะพร้าวทะเลทราย มีลักษณะคล้ายต้นมะพร้าว

การรดน้ำมะพร้าวทะเลทราย ไม่สามารถจะกำหนดวันที่ชัดเจนได้ โดยแนะนำว่าหากหน้าดินเริ่มแห้ง ก็สามารถรดน้ำเพิ่มได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ แสงแดด และดิน


ดินที่ใช้ปลูกมะพร้าวทะเลทราย ควรมีการระบายน้ำได้ดี เหมือนแคคตัส (Cactus) ทั่วไป หากเป็นมือใหม่จะใช้ดินของแคคตัสมาปลูกเลี้ยงก็ได้เช่นกัน แต่หากไม่สามารถหาซื้อดินแคคตัสได้นั้น การใช้ดินร่วนผสมใบก้ามปู ผสมขุยมะพร้าว หรือดินเปล่า แล้วผสมกับหินภูเขาไฟ เพื่อเพิ่มการระบายน้ำ

หากใช้ดินที่ระบายน้ำได้ดี โดนแสงแดด 4 – 6 ชั่วโมงต่อวัน และฝนไม่ตก ก็จะสามารถรดน้ำทุกๆ 2 – 3 วัน เนื่องจากมะพร้าวทะเลทรายนอกจากจะต้องการแดดมากแล้ว ยังต้องการน้ำมากด้วยเช่นกัน

Dorstenia มะพร้าวทะเลทราย มีลักษณะคล้ายต้นมะพร้าว

การบำรุงมะพร้าวทะเลทราย สามารถให้ปุ๋ยละลายช้า (Osmocote) หรือปุ๋ยเม็ดสีเหลือที่คุ้นเคยกันนั้นแหละ โดยให้ทุกๆ 3-4 เดือน หรือจะใช้ผสมกับดินก่อนปลูก

การเลือกกระถางสำหรับปลูกมะพร้าวทะเลทราย แนะนำว่าควรใช้กระถางที่มีขนาดใหญ่กว่าลำต้นไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว เพื่อให้ต้นมะพร้าวยังคงเติมโตได้ดี แต่หากเป็นไม้ที่ได้ทรงได้ขนาดแล้ว สามารถปลูกในกระถางที่มีขนาดใหญ่กว่าลำต้นเพียงเล็กน้อยก็ได้

Dorstenia มะพร้าวทะเลทราย มีลักษณะคล้ายต้นมะพร้าว

ข้อควรระวังในการปลูกมะพร้าวทะเลทราย มีไม่มากเนื่องจากมะพร้าวทะเลทรายเป็นไม้ที่แข็งแรงทนทานและตายยาก แต่อาจมีปัญหาที่เกิดขึ้นกับใบและรากได้

สำหรับมะพร้าวทะเลทราย การพบใบเหลืองอาจมาจากการรดน้ำหรือให้ปุ๋ยมากเกินไป แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก โดยเราสามารถพบปัญหาใบร่วงได้มากกว่า โดยปัญหาใบร่วงในมะพร้าวทะเลทรายนั้นมากเกิดจากเรื่องแดด มะพร้าวทะเลทรายเป็นไม้ที่แข็งแรง ทนทาน เนื่องจากการปรับตัวได้เร็ว โดยเฉพาะเรื่องแสง มะพร้าวทะเลทรายจะยืดลำต้นและใบเมื่อได้รับแดดไม่เพียงพอ ในขณะที่หากได้รับแสงมากเกินไป มะพร้าวทะเลทรายจะผลัดใบทิ้ง มักพบกับมะพร้าวต้นที่เคยถูกเลี้ยงไว้ในที่แดดรำไร หรือแสงแดดไม่มากนัก แล้วถูกย้ายไปในเลี้ยงในที่แดดจัดโดยฉับพลับ มะพร้าวจะป้องกันตัวเองด้วยการผลัดใบบางส่วนทิ้ง แล้วสร้างใบใหม่ที่มีขนาดกระทัดรัดขึ้นมาทดแทน ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นกังวลเมื่อมะพร้าวทะเลทรายที่เราเลี้ยงไว้มีอาการใบร่วง

ปัญหาเรื่องรากของมะพร้าวทะเลทราย มี 2 เรื่องที่พบได้แต่ก็ไม่บ่อยมากนัก ได้แก่ปัญหาเรื่องรากเน่า โดยมักมาพร้อมกับอาการใบเหลือที่ได้พูดถึงไปข้างต้น และเชื้อราที่เกาะกินตามราก โดยปัญหารากเน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากหากเราใช้วัสดุปลูกที่ดี ส่วนปัญหาเรื่องเชื้อรานั้นก็พบได้น้อยอีกเช่นกัน โดยเราสามารถป้องกันปัญหาจากเชื้อราได้ด้วยการผสมยากำจัดและป้องกันเชื้อรา เพื่อป้องกันปัญหาจากเชื้อราที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Dorstenia มะพร้าวทะเลทราย มีลักษณะคล้ายต้นมะพร้าว

มะพร้าวทะเลทรายเป็นไม้ที่มีขายทั่วไป หาซื้อง่ายตามตลาดนัดต้นไม้ หรือร้านขายแคคตัด (Cactus) ทั่วไป ราคาเริ่มต้นก็มีตั้งแต่ 10 บาท แต่หากจะเป็นต้นที่ทรงสวย หรือเป็นไม้หายากก็จะมีราคาที่สูงขึ้น สำหรับมือใหม่ที่อยากลองเลี้ยง แนะนำว่าเลือกต้นที่ถูกใจและคิดว่าสวย เนื่องจากมะพร้าวทะเลทรายมีลักษณะลำต้นและใบที่หลากหลายตามแต่ชนิดและสายพันธุ์

สำหรับใครที่ต้องการต้นมะพร้าวทะเลทราย สามารถเข้าไปซื้อจากที่นี่ได้นะครับ https://shope.ee/4fJcyPO8u0

Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้